ถอดรหัสปมค้าน กกพ. รับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

ข่าวเศรษฐกิจโลก

ถอดรหัส ปมค้าน กกพ. เปิดรับซื้อไฟฟ้าโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5 พันเมกะวัตต์-เกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว UGT อย่างไร ?

หลังจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดให้เอกชนยื่นเสนอขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้าประเภทไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 กำลังการผลิตรวม 5,203 เมกะวัตต์

โดยแบ่งเป็น ก๊าซชีวภาพ 335 เมกะวัตต์, พลังงานลม 1,500 เมกะวัตต์, พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน 1,000 เมกะวัตต์ และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 2,368 เมกะวัตต์ แบบไม่มีการแข่งขันราคาแต่ตั้งราคารับซื้อไฟแต่ละประเภท ดังนี้

1) ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ติดตั้งบนพื้น รับซื้อหน่วยละ 2.01 บาท

2) ก๊าซชีวภาพ หน่วยละ 2.07 บาท

3) พลังงานลม หน่วยละ 3.01 บาท

4) พลังงานแสงอาทิตย์ แบบ Hybrid ที่มีระบบ รับซื้อ หน่วยละ 2.83 บาท

กกพ.สรุปผลว่ามีผู้ยื่นคำร้องเสนอขายไฟฟ้ารวม 670 โครงการ แบ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 272 โครงการ และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จำนวน 398 โครงการ รวมเป็นปริมาณเสนอขายรวมมากถึง 17,400 เมกะวัตต์ สูงกว่าที่กำหนดไว้มากกว่า 3 เท่า

ขอ ส.อ.ท.ช่วย
ล่าสุดกลุ่มผู้ประกอบการที่ผลิตพลังงานหมุนเวียน ได้ยื่นร้องสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยตั้งข้อสังเกตว่าการเปิดรับซื้อไฟฟ้า ในครั้งนี้ ว่าไม่มีการประมูล เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคา แต่เป็นการกำหนดราคาซื้อ-ขาย และคัดเลือกตามลำดับคะแนนโดยคณะอนุกรรมการคัดเลือกโครงการ ซึ่งมาจากที่ กกพ. แต่งตั้งขึ้น ทั้งไม่มีการประกาศเกณฑ์การคัดเลือกให้ผู้ยื่นได้รับรู้ล่วงหน้า อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน

ซึ่งภาคเอกชนต้องการให้มีการแข่งขันราคา เพื่อจะให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม และอยู่บนพื้นฐานของธรรมภิบาลความจริง

จึงขอให้ ทบทวน และพิจารณาใหม่อีกครั้งโดยเร็วที่สุด เนื่องจากพบความไม่โปร่งใสมากมายในการพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติการเข้าร่วมโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

ด้าน นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท. ได้เตรียมนำปัญหานี้ เข้าหารือกับ กกพ. เป็นการเร่งด่วน

ข่าวเศรษฐกิจไทยวันนี้

ผลการพิจารณาของ กกพ.
ย้อนกลับไปดูผลการพิจารณานายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการ กกพ.ระบุว่า โครงการ พลังงานหมุนเวียน 5,000 เมกะวัตต์ ซึ่งทาง กกพ. ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจากจำนวนผู้ที่ยื่นคำขอ 629 โครงการพบว่ามีผู้ผ่านคุณสมบัติ 550 โครงการ และคัดเลือกลำดับ ต่อมาพบว่าในจำนวนนี้มีโครงการที่ผ่านการคัดเลือก 318 ราย รวม 7,729 เมกะวัตต์ และไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 230 โครงการรวม 6,126 เมกะวัตต์

สาเหตุที่ไม่ผ่าน 230 โครงการ ประกอบด้วย 5 สาเหตุ คือ 1) ไม่ผ่านความพร้อมด้านพื้นที่จำนวน 210 โครงการ ในจำนวนนี้มีโครงการที่ติดปัญหาเรื่องผังเมือง 146 โครงการ ฝติดปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองอีก 111 โครงการ เช่น ยื่นเอกสารสิทธิที่ดินไม่ครบไม่มีเอกสารแสดงตัวตนของเจ้าของที่ดินลงนามสัญญาไม่ถูกต้องไม่มีหนังสือแจ้งตั้งผู้จัดการมรดก เป็นต้น และติดเรื่องผังรวมแปลง 15 โครงการ เช่นไม่แนบผังต่อโฉนดแนบไม่ครบ ไม่ระบุเลขขนาด เป็นต้น

2) สาเหตุติดปัญหาด้านเทคโนโลยี 23 โครงการ เช่น ไม่พบเอกสารเรื่องแพลนเลย์เอาต์ วิศวกรไม่ลงนามในแบบแพลนเลย์เอาต์ ไม่มีสำเนาใบอนุญาตวิศวกรผู้รับรอง เป็นต้น 3) สาเหตุติดปัญหาด้านเชื้อเพลิง 6 โครงการเช่น ไม่มีรายงานประเมินความสามารถในการผลิตไฟฟ้า

4) สาเหตุ ด้านการเงิน 26 โครงการ เช่น ไม่แนบหนังสือสนับสนุนทางการเงินไม่ระบุวงเงินในการสนับสนุนหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำและผู้ที่ไม่มีแผนการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมและ 5)สาเหตุจากการดำเนินงาน คือ ขาดรับฟังความคิดเห็นอีก 1 โครงการ

“เกณฑ์การพิจารณาเราก็แบ่งกลุ่มแต่ละประเภทประเภทจากเกณฑ์ เช่น ที่ดินตอนนี้ดูเรื่องกรรมสิทธิ์ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้กรรมสิทธิ์หมดแล้วแต่ต้องดูว่ากรรมสิทธิ์ที่ได้นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ระดับไหน ถ้าเป็นผู้ผลิตที่เป็นเจ้าของที่ดินก็มีกรรมสิทธิ์เยอะกว่าหรือถ้าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายต้องดูว่ามีคอมมิตเมนต์กันชัดเจนมีการลงทะเบียนก็เป็นอีกระดับหนึ่ง”

ส่วนที่เหลืออีก 318 โครงการ คิดเป็นจำนวน 7,729 .08 เมกะวัตต์นั้น แน่นอนว่าการแข่งขันย่อมเข้มข้นขึ้น คาดว่าจะสรุปผลการพิจารณาในเดือนมีนาคม 2566

แต่อย่างไรก็ตาม จากที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อกำหนดราคาซื้อขายไซด์เท่ากันแล้ว กกพ. จะใช้เกณฑ์อะไรในการให้คะแนนเพื่อตัดสิน

แนะนำข่าวเศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์